วันอังคารที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

วันจันทร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

สิทธิในที่อยู่อาศัย

ที่อยู่อาศัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์เรา เราเกิดที่ไหน ถ้าเป็นในอดีตก็คือบ้านเกิดในบ้าน แม้ในปัจจุบันคนส่วนใหญ่จะเกิดที่โรงพยาบาลแต่ก็มาเติบโตในบ้าน บ้านไม่ได้เป็นเพียงที่ซุกหัวนอน หรือที่อยู่อาศัยเท่านั้น บ้านเกี่ยวข้องกันเราตลอดเวลา บ้านหรือที่อยู่อาศัยช่วยไม่ให้เราเปียกฝน กันร้อน กันหนาว เป็นที่พักผ่อนแม้กระทั่งยามทุกข์เราก็ใช้บ้านเป็นที่ปลอบประโลมความทุกข์ใจ บ้านยังใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เกี่ยวกับความเชื่อ เกี่ยวกับครอบครัว ความรัก ความอบอุ่น ความมั่งคง ฯลฯ

การมีบ้านจึงเป็นสิทธิพื้นฐานของสิทธิมนุษยชนประการหนึ่งซึ่งได้รับการยอมรับไว้ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 25 กล่าวว่า ทุกคนมีมาตรฐานในการครองชีพอันเพียงพอสำหรับสุขภาพและความเป็นอยู่ดีของตนและครอบครัว รวมทั้งอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยและกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมแล้ววัฒนธรรม ข้อ 11 กล่าวว่า รัฐจะประกันสิทธิในอาหาร เครื่องนุ่งห่มและที่อยู่อาศัย

เป็นที่น่าเสียดายที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้ชื่อว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ดีที่สุดฉบับหนึ่งของประเทศไทยไม่ได้พูดถึงสิทธิที่อยู่อาศัยอย่างชัดเจน กล่าวแต่เพียงว่า “รัฐจะต้องจัดระบบการถือครองที่ดินและการใช้ที่ดินอย่างเหมาะสม” ไว้ในหมวดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ

แต่ทว่า ในทุกประเทศ รวมทั้งประเทศไทยมีผู้คนจำนวนค่อนข้างมากที่ไม่มีบ้านทีอยู่อาศัยของตนเอง ต้องเช่า จำนวนไม่น้อยเป็นคนไร้บ้านต้องเร่ร่อนหาที่ซุกหัวนอนเป็นคืนๆไป น่าเวทนายิ่งนัก

สถานการณ์ด้านที่อยู่อาศัยในประเทศไทย ตามที่กล่าวมาแล้วว่าที่อยู่อาศัยมีความสำคัญต่อเราเป็นอย่างยิ่ง ทุกคนต้องการที่อยู่อาศัยในประเทศไทยเมื่อกล่าวถึงที่อยู่อาศัยเกี่ยวข้องกับพวกเราทุกคน ปัญหาที่อยู่อาศัยนั้นเกิดขึ้นกับทุกชนชั้น ไม่ว่าร่ำรวย ชนชั้นกลาง ชนชั้นล่าง ชนชั้นกลางเองเมื่อจะซื้อบ้านในกรุงเทพฯ หรือปปริมณฑล พื้นที่ไม่กี่สิบตารางวาก็ต้องผ่อนบ้านไปหลายสิบปีเป็นหนี้สินจนลูกหลานโต สำหรับชนชั้นล่างนั้น ประสบปัญหาที่หนักหน่วงมาก ทั้งปัญหาไม่มีที่อยู่อาศัยต้องเป็นผู้เร่ร่อน นอนข้างถนน สะพานลอย โดยเฉพาะเป็นชุมชนแออัน

ปัจจุบัน มีชุมชนแออัดในประเทศไทยประมาณ 1,800 ชุมชน 370,000 ครอบครัว ประชากร 1.8 ล้านคนส่วยใหญ่จะเข้าไปสร้างบ้าน ในที่ดินของรัฐและเอกชนด้วยการเช่า บุกเบิกและบุกรุก ส่งผลให้ชุมชนไม่มีความมั่งคง ในที่อยู่อาศัยมีโอกาสถูกยกเลกสัญญาเช่าหรือไล่รื้อ จากเจ้าของที่ดิน เพื่อนำที่ดินไปใช้ประโยชน์อื่น ซึ่งมีชุมชนจำนวนหนึ่งที่กำลังมีปัญหาที่อยู่อาศัยคือชุมชนที่อยู่ในสถานการณ์ไล่รื้อ ภาครัฐพยายามแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการจัดหาที่อยู่ให้ใหม่ ทั้งที่อยู่อาศัยในรูปแฟลตหรือที่อยู่อาศัยนอกเมือง แต่ก็ทำให้เกิดภาระกับผู้ไล่รื้อ คือ ค่าผ่อนบ้าน การเปลี่ยนงานซึ่งก็เป็นเรื่องยากลำบากมากสำหรับผู้ที่ทำงานอยู่ที่เดิมก็ต้องรับภาระเรื่องค่าเดินทางจากบ้านมาที่ทำงาน ผู้ถูกไล่รื้อส่วยใหญ่ก็ต้องกลับเข้ามาอาศัยอยู่มรชุมชนแออัดอีก แนวทางที่น่าจะแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยของชุมชนแออัดได้ คือ ให้ชุมชนได้อาศัยอยู่ที่เดิมโดยมีการปรับปรุงและพัฒนาสภาพแวดล้อมให้น่าอยู่เพื่อไม่ให้สังคมรังเกียจ รัฐควรเปิดโอกาสให้ชุมชนเช่าที่ดินระยะยาว ค่าเช่าถูก หรือจัดสรรที่ดินให้ และที่สำคัญจะต้องให้ชุมชนมีส่วนร่วมกำหนดชีวิตของตัวเองด้วย

รายชื่อสมาชิกกลุ่ม TITT
ชื่อ-สกุล รหัส
1 นาย กิตติวัฒน์ ตีโอษฐ์ 51116940192
2 นางสาว เอรินทร์ ธนชัย 51116940219
3 นางสาว ศุกนถ์นีย์ เพียรทอง 51116940221
4 นาย ธนกฤต หอมชื่น 51116940224
5 นางสาว ลลิตา พิมพา 51116940226
6 นาย ศตวรรณ อ่อนมั่ง 51116940227
7 นางสาว ปาริชาติ แสงปาก 51116940237
8 นาย จรัตน์ ตั้งวิทยาภูมิ 51116940257
9 นายเรืงศักดิ์ ผันพิทักษ์วงษ์ 51116940262